From Waste to Sustainable Art

About Us

เกี่ยวกับวิชชุลดา

วิชชุลดา คือ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ และเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ให้บริการด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ทุกประเภท เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน บนความเชื่อที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดไร้ค่า” และ “ทุกคนทำได้” กล่าวคือ ทุกคนมีศักยภาพในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง และยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ชิ้นงานได้อีกด้วย

ผลงานศิลปะของ วิชชุลดา เป็นสื่อกลางหนึ่งที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจในการหมุนเวียนใช้ซ้ำวัสดุเหลือใช้รอบตัวให้เต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด วิชชุลดา เชื่อว่า พลังแหล่งความคิดสร้างสรรค์ ประกอบกับการวางแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมตั้งแต่ระดับต้นทางการผลิต จนถึงปลายทางในการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ซ้ำ จะช่วยลดปริมาณเศษวัสดุเหลือทิ้งลงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนกลไกการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เนื่องจากปัญหาขยะเป็นประเด็นที่ทุกคนพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน และไม่อาจแก้ไขได้ด้วยกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนที่ดำรงชีวิตและใช้ทรัพยากรธรรมชาติบนโลกใบนี้

WISHULADA is social activist artist and social enterprise which provides design service and create artwork from many kinds of waste materials to achieve the maximum benefit according to Circular Economy concept with the believing of “Nothing worthless” and “Everybody can do”. That is everybody can change waste materials to be reused and create value-added workpiece.
Artworks of WISHULADA can be one instrument that indicates the amount of waste and encourage everyone awareness on environmental problems. Besides, they can inspire people to effectively reuse the wasted materials surrounding us to reach the highest benefit.

WISHULADA believes that the power of creativeness together with suitable operational planning from upstream, such as production process, until downstream, such as consumer, to reuse waste materials, will reduce amount of waste materials that be discarded to be least left. This can be one supporting part of the mechanism for future sustainability. Because the waste problem issues are kept mention for the length of time and cannot be solved by just only a group of people, therefore this topic should be encouraged as duty and responsibility of everyone who living and exploiting natural resources of the world.

Reused Materials

การหมุนเวียนวัสดุเหลือใช้

Aluminum Caps

337.2 Kg

Aluminum Lamp

57 Kg

Aluminum Pull Tab

39 Kg

Belt

0.3 Kg

Buttons

39.3 Kg

Cans

225 Kg

CD-ROM

93 Kg

Crown Caps

175 Kg

E-Waste

115 Kg

Electrical cables

103.7 Kg

Fabric Scraps,
Waste Cloth Pieces

2,354.6 Kg

Fishing Nets

111 Kg

HDPE Plastic

115.5 Kg

Keyboards

20.5 Kg

Laundry Detergent Pouches

51.8 Kg

Life Jackets

32 Kg

Mannequin

5 Kg

Metal Scraps

280 Kg

Paper Cores

66 Kg

Paper Scraps

3 Kg

Plastic Bottles

1,546.2 Kg

Plastic Bottle Caps

1,128.6 Kg

Plastic Cups

173 Kg

Plastic Scraps

176.5 Kg

PP Board

2.75 Kg

PP Strapping

160 Kg

Ribbon

10.2 Kg

Sack Bags

82 Kg

Second Hand Bras

250 Kg

Shirt

1,800 Kg

Shoes

10 Kg

Snacks Packaging

145 Kg

Sponge

2 Kg

Steel bar & Steel scrap

272 Kg

Straws

229 Kg

Tile

20 Kg

Toys

535.2 Kg

Uniform

500 Kg

Wooden Waste

185 Kg

11,353.15 Kg

Reused Materials 2018 - 2023
วัสดุหมุนเวียนใช้ซ้ำ ปี 2561 - 2566

5,608,074.64 Baht

Income Distribution to Communities 2019 - 2023
การกระจายรายได้สู่ชุมชน ปี 2562 - 2566

Partnership

เครือข่าย

ชัยนาท (Chai Nat)
สมุทรสาคร (Samut Sakhon)
กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
นนทบุรี (Nonthaburi)
พะเยา (Phayao)
ชลบุรี (Chon Buri)

Partnership

Portfolio

ผลงานของเรา

View portfolio